ศาลาแก้วกู่ (วัดแขก) ตั้งอยู่จังหวัดหนองคาย ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปโพนพิสัย เป็นพื้นที่กลางจ้างตั้งแสดงรูปปั่นขนาดใหญ่ เช่น พระพทธรูปปางต่างๆ รูปเทพฮินดู รูปปั่นเกี่ยวกับศาสดาคริสต์ รูปปั่นเล่าเรื่องรามเกียรติ์และตำนานพื้นบ้าน
*** ศาลาแก้วกู่สร้างขึ้นโดย “ปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์” หรือ “ปู่เหลือ” ( พ.ศ. 2476 – 2539 ) ซึ่งมีประวัติชีวิตและผลงานอัศจรรย์ โดยย่อ ดังนี้ นางคำปลิว สุรีรัตน์ (พี่สาวคนโตของปู่เหลือ) ชาวหนองคาย แต่งงานได้ระยะหนึ่ง ฝันว่ามีชีปะขาวนำ นาคมรกตมามอบให้ แต่บอกว่าอีก 7 เดือนค่อยไปรับมาเป็นของตน ต่อมาแม่ตั้งท้องลูกคนที่เจ็ด ในวัยสูงอายุและหมดประจำเดือนแล้ว และคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน ทุกคนจึงเชื่อว่าเป็นไปตามนิมิตในฝัน นางคำปลิวและสามี จึงรับน้องชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่แรกเกิด
....ด.ช.บุญเหลือชอบเข้าวัดมาแต่เด็ก พออายุได้หกขวบนางคำปลิวเสียชีวิตลง สามีนางคำปลิวมีภรรยาใหม่ ด.ช.บุญเหลือจึงกลับไปอยู่กับ พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด แต่มักขัดขวางห้ามปรามผู้ใหญ่ในทางบาปต่างๆ จึงไม่เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง ครั้นอายุ 12 ปี ทนความกดดัน รอบข้างไม่ไหว จึงหนีออกจากบ้านรอนแรม ไปจนพบสำนักอาศรมแก้วกู่ในเขตแดนลาว และได้ฝากตัวศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระมุนีที่นั่น จนอายุครบ 20 ปี พระมุนีจึงให้ออกจากสำนัก ไปจาริกแสวงบุญโปรดญาติโยมทั้งใกล้และไกล เมื่ออายุ 30 ปี จึงได้กลับมาปรนนิบัติตอบแทนคุณในวาระสุดท้ายของชีวิตพ่อแม่ ก่อนแม่สิ้นบุญในปี 2507 ได้มอบที่ดิน 8 ไร่ ณ บ้านเชียงควาน เมืองท่าเดื่อ เวียงจันท์ ไว้เป็นมรดก
...ปี พ.ศ. 2513 ปู่เหลือได้พัฒนาที่ดินดังกล่าวสร้างเป็น “ปูชนียสถานเทวาลัยอย่างมหึมา” พุทธศาสนิกชนทั้งในภาคพื้นยุโรป และเอเชียเลื่อมใสมาก แต่เมื่อเกิดเหตุวิกฤตในราชอาณาจักรลาวเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่จึงพาลูกศิษย์ข้ามโขงมา และรวมกันจัดตั้งเป็น “พุทธมามกสมาคมจังหวัดหนองคาย” โดยกรมการศาสนารับรองให้ในปี พ.ศ. 2519
... ปี พ.ศ. 2521 สานุศิษย์ได้จัดซื้อที่ดินราว 41 ไร่ ในเขตบ้านสามัคคี ต.หาดคำ ถวายให้เป็นที่ตั้งสำนักจวบจนปัจจุบัน ต้นปี พ.ศ.2527 ปู่เหลือถูกใส่ความ และมีผู้ไปแจ้งตำรวจตั้งข้อหาฉกรรจ์ (ซึ่งทางสำนักขอสงวนไว้) ต้องอยู่ในเรือนจำจนถึง ปลายปี 2529 เมื่อออกมาแล้วก็สร้างเทวรูป อีกมากมาย ทั้งเล็กและใหญ่ และทั้งขนาดที่สูงถึง 33 เมตร เมื่อสร้างทั้งพุทธรูปและเทวรูปถึง 209 ปางแล้ว ก็สร้างศาลาแก้วกู่หลังใหม่ โดยรื้อหลังเก่า (พ.ศ.2523 – 2538) ที่ทรุดโทรมลง ขณะก่อสร้างศาลาหลังใหม่ ปู่เหลือก็ล้มป่วย และต่อมาได้เสียชีวิตลงในเดือนสิงหาคม 2539 สานุศิษย์ได้นำผอบ (ผะ-อบ) แก้วใส่ร่างของท่านไว้ ตามความประสงค์ก่อนสิ้นชีวิต”
ขอบคุณภาพจาก เว็บเมืองไทย.คอม http://www.muangthai.com/thaidata/54077
กดถูกใจ (Like) ติดตามข่าวสารจาก มงคล
facebook
google+
fb share