ใครที่กำลังวางแผนซื้อรถใหม่ในช่วงปี 2559 เตรียมเก็บเงินเพิ่มได้เลย เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป รัฐบาลจะทำการปรับอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ทั้งระบบ เนื่องจากเห็นว่า การจัดเก็บภาษีในอัตราเดิมนั้นมีการบิดเบือนโครงสร้างทางภาษีสรรพสามิต และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์ จึงได้มีการคลอดเกณฑ์การจัดเก็บภาษีรถยนต์แบบใหม่ โดยพิจารณาจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยหวังจะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศนั่นเอง
งานนี้เหล่าผู้ที่กำลังจะควักกระเป๋าซื้อรถประเภทอีโคคาร์ ดูเหมือนจะได้รับอานิสงส์จากภาษีใหม่ไปเต็ม ๆ เพราะเป็นรถประเภทที่ปล่อยไอเสียในอัตราที่ไม่สูงมาก ทำให้อัตราการเก็บภาษีลดลงไปโดยปริยาย ขณะที่รถยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่ปล่อยไอเสียในอัตราที่สูง ก็เตรียมก้มหน้ารับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาได้เลย ซึ่งแบ่งเป็นการคิดภาษีตามประเภทรถยนต์และอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนี้
จากตารางที่แสดงอยู่ด้านบนทางด้านกรมสรรพสามิตแบ่งแยกรถยนต์อย่างชัดเจน แต่ก็ยังไม่สามารถจำแยกเครื่องยนต์ออกไปอย่างละเอียดได้ อัตราภาษีจะอย่างในช่วง 10% จนไปถึง 50% เลยทีเดียว เราจะมาแบ่งแยกให้ชัดเจนเพื่อทำควมเข้าใจกับระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่กัน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 ประเภท
1. รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
– ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
– ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 40% (เดิมจัดเก็บภาษี 30%)
# เก๋ง/เอสยูวี ไม่เกิน 2,000 ซีซี ภาษีขึ้น 3-10 %
รถยนต์นั่งในพิกัดนี้ ถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในตลาด มีตั้งแต่ รถยนต์ระดับซับคอมแพคท์ จนถึงรถยนต์ระดับพรีเมียมหลายรุ่น ที่หันมาใช้เครื่องยนต์ความจุน้อยลง รวมทั้งเอสยูวีบางรุ่นด้วย
ในอัตราภาษีเดิม รถยนต์ซับคอมแพคท์ ที่รองรับน้ำมัน E20 เช่น โตโยตา วีออส, เชฟโรเลต์ โซนิค, ฟอร์ด ฟิเอสตา จะเสีย 25 % แต่อัตราใหม่ รถเหล่านี้ถ้าปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จะต้องเสียภาษีเพิ่มเป็น 30 % ส่วนรถบางรุ่นที่รองรับน้ำมัน E85 เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ จะเสีย 25% เท่าเดิม
รถยนต์คอมแพคท์ ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,780-2,000 ซีซี และรองรับน้ำมัน E85 เช่น โตโยตา อัลทิส (เฉพาะเครื่อง 1,800 ซีซี), ฮอนดา ซีวิค, เชฟโรเลต์ ครูซ (เฉพาะเครื่อง 1,800 ซีซี), มาซดา 3 อัตราเดิมเสีย 22 % ส่วนอัตราใหม่ รุ่นที่ปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียเพิ่มเป็น 25 % ส่วนรุ่นที่ปล่อยในพิกัด 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร เสียเพิ่มเป็น 30 % ส่วนรถที่รองรับน้ำมัน E20 จากเดิมเสีย 25 % ก็จะต้องเพิ่มเป็น 30 % หรือ 35 % ตามปริมาณการปล่อยไอเสีย
รถยนต์นั่งขนาดกลางและเอสยูวีหลายรุ่น ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร เช่น โตโยตา แคมรี, ฮอนดา แอคคอร์ด, ฮอนดา ซีอาร์วี, นิสสัน เทอานา, มาซดา ซีเอกซ์-5 ฯลฯ มีทั้งรุ่นที่รองรับน้ำมัน E20 และ E85 ซึ่งถูกคิดภาษีอยู่ที่ 25 % และ 22 % ตามลำดับ รถระดับนี้ ส่วนใหญ่ยังคงปล่อยไอเสียในพิกัด 151-200 กรัมต่อกิโลเมตรอยู่ ดังนั้น จะเสียภาษี 35 % หรือ 30 % ขึ้นกับน้ำมันที่รองรับ
นอกจากนี้ รถยนต์ระดับพรีเมียม ตั้งแต่ขนาดซับคอมแพคท์ จนถึงขนาดกลางหลายรุ่น ก็จะถูกคิดภาษีเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการปล่อยไอเสีย
# เก๋ง/เอสยูวี 2,001-2,500 ซีซี ภาษีแพงขึ้น
ในพิกัดนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์นั่งและเอสยูวีขนาดกลาง รวมถึงรถยนต์ระดับพรีเมียมบางรุ่น ซึ่งเดิมเสียภาษี 30 % และ 27 % ขึ้นอยู่กับว่ารองรับน้ำมัน E20 หรือ E85 ซึ่งเท่าที่สำรวจรถในตลาด พบว่า รถที่ใช้เครื่องยนต์ระดับนี้ จะปล่อยไอเสีย 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร ดังนั้นจะถูกเพิ่มภาษีเป็น 35 % สำหรับรถที่รองรับน้ำมัน E20 และ 30 % สำหรับบางรุ่นที่รองรับน้ำมัน E85
2. รถยนต์นั่งประเภทอี 85 และรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
– ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30% (เดิมจัดเก็บภาษี 25%)
– ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35% (เดิมจัดเก็บภาษี 30%)
3. รถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 10%)
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 10%
– ปล่อยก๊าซเกิน 100-150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 20%
– ปล่อยก๊าซเกิน 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25%
– ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%
4. รถยนต์ Eco Car (เดิมจัดเก็บภาษี 17%)
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร และใช้น้ำมัน E85 ได้ จัดเก็บภาษี 12%
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 14%
– ปล่อยก๊าซเกิน 100-120 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 17%
5. รถยนต์กระบะที่ไม่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 3%)
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 3%
– ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5%
6. รถยนต์กระบะที่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 3%)
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5%
– ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 7%
7. รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (ดับเบิ้ลแคป) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 12%)
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 12%
– ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 15%
8. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี (เดิมจัดเก็บภาษี 20%)
– ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25%
– ปล่อยก๊าซฯเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%
รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (PPV) ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดไม่เกิน 3,250 ซีซี จากเดิมเสียภาษี 20 % ทุกรุ่น ในอัตราใหม่จะเพิ่มเป็น 25 % สำหรับรถที่ปล่อยไอเสีย ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร และ 30 % สำหรับรถที่ปล่อยไอเสียเกิน ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ส่วนใหญ๋นั้นยังมีค่าไอเสียเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร หมายความว่า ในปี 2559 รถพีพีวี จะเสียภาษีแพงขึ้นอีก 10 % แทบทุกรุ่น
จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่ารถยนต์ประเภทอีโคคาร์นั้นมาราคาถูกลง ซึ่งเป็นนโยบายที่ทางกรมสรรพสามิตต้องการสนับรถยนต์ประหยัดพลังงานและรักษ์โลกโดยจะปล่อยก๊าซ CO² ต่ำกว่า 100 g/km
สรุป : ภาษีใหม่ = มาตรฐานใหม่
อัตราภาษีใหม่นี้ คาดว่าจะทำให้รถยนต์ส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ในตลาด มีราคาสูงขึ้น เพราะต้นทุนค่าภาษีจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3-10 % อย่างไรก็ตาม ภาษีใหม่นี้ จะสร้าง “มาตรฐานใหม่” ให้แก่วงการยานยนต์ไทย โดยจะกระตุ้นให้ผู้ผลิต พัฒนา และสร้างสรรค์รถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน และปล่อยไอเสียต่ำ เพื่อให้อยู่ในพิกัดภาษีที่เหมาะสม ดังนั้น ในระยะยาว คนไทยจะได้ใช้รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างแน่นอน
ที่มา : KHAOBOX
กดถูกใจ (Like) ติดตามข่าวสารจาก มงคล
facebook
google+
fb share