กระเทียมเป็นพืชที่ถูกนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณเรื่อยมา เข้ามาในยุโรป อินเดีย และเอเชียและเผยแพร่เข้าไปในอเมริกา ปัจจุบันมีการวิจัยพยายามศึกษาหาสารในกระเทียมว่า มีสารอะไรบ้าง ที่มีประโยชน์ในการรักษาโรค โรคที่ใช้รักษาได้คือ โรคหัวใจ มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ใช้ต่อต้านอนุมูลอิสระก่อนที่จะทำลายเซลล์ดีๆ ของร่างกาย ฯลฯ
กระเทียมประกอบด้วยสารมากมายหลายชนิด แต่ละชนิด จะออกฤทธิ์แตกต่างกันไป วิธีการเตรียมหรือผลิตกระเทียม ให้เป็นยาด้วย ความร้อน การละลายด้วยน้ำหรือน้ำมัน จะได้สารออกมาแตกต่างกัน รักษาโรคไม่เหมือนกัน ดังนั้นการจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากกระเทียมควรทำอย่างไร?
สารที่ให้ประโยชน์ในการรักษาจะได้จากการสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ซึ่งได้หลายชนิด ชนิดที่ให้ประโยชน์และนำมาทดลองกันมากคือ แอลไลซิน (ALLICIN) ซึ่งไม่ค่อยคงตัว จะสลายตัวได้ง่าย ภายใน 6 วินาที เราไม่สามารถวัดสารแอลไลซินได้ในเลือด เมื่อบริโภคกระเทียมเข้าไปหรือไม่ สามารถวัดปริมาณของแอลไลซิน ในผลิตภัณฑ์ของกระเทียมแต่เราจะวัดสารชื่อ แอลไลอิน (ALLIIN) และแอลไลอิเนส (ALLINASE) แทน เพราะทั้งสองสารนี้ เมื่อผสมกันแล้วจะเกิดสาร “แอลไลซิน” ซึ่งให้ฤทธิ์ในการรักษา ภายในชั่วเสี้ยววินาทีเมื่อถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร พูดง่ายๆ ก็คือ เราวัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระเทียมจากปริมาณสารสองตัวนี้
ประโยชน์ของกระเทียม
1.ป้องกันโรคหัวใจ ลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือดได้ 58% ลดคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ลดความดันโลหิต เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
2.ป้องกันโรคมะเร็ง สารประกอบในกระเทียมจะยับยั้ง การเกิดสารก่อมะเร็งที่ชื่อไนโตรซามีนในร่างกาย ซึ่งช่วยป้องกัน การเป็นมะเร็งได้ สารอีกตัวหนึ่งในกระเทียมชื่อ S-ALLYLMERCAPTO CYSTEINE ช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็ง ในต่อมลูกหมากถึง 50% และได้ตีพิมพ์ในวารสาร AMERICAN JOURNAL OF CLINICAL NUTRITION ปี 1997
3.เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ของกระเทียม ที่ผลิตโดยเทคนิคใหม่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “aged garlic” จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้เพิ่มขึ้น เช่น macrophaqes, T-lymphocyte activity และ antibody production นอกจากนี้แล้วยังพบว่ากระเทียมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค, เชื้อไวรัส และเชื้อรา อีกด้วย
4.อื่นๆ กระเทียมมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคติดต่อเชื้อทางเดินหายใจ การเกิดพิษจากโลหะหนัก หูอักเสบ น้ำตาลในเลือดสูง การปรับสภาพ ต่อความเครียด การได้รับแอลกอฮอล์มากเกินไป ท้องร่วง นอกจากนี้กระเทียมยังสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง (major antioxidant) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อโรคของหลอดเลือด (arterial disease) และโรคเสื่อมต่างๆ (degenerative tissue condition)
จะรับประทานกระเทียมอย่างไรดีให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
การปรุงอาหารด้วยกระเทียมก็ยังคงเหลือสารกลุ่มซัลเฟอร์ ซึ่งยังคงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง การรับประทานกระเทียมสดๆ จะดีที่สุด แต่จะระคายกระเพาะอาหาร ให้รับประทาน พร้อมอาหารโดยเฉพาะอาหารโปรตีน
คนที่ไม่ชอบกลิ่นกระเทียมหรือไม่ได้รับประทานกระเทียมทุกวัน การรับประทานแคปซูล กระเทียมเป็นอาหารเสริมก็ให้ประโยชน์เช่นกัน ให้เลือกบริษัทผู้ผลิตกระเทียมที่เชื่อถือได้และควรมีฉลากระบุสารต่างๆ ในนั้นด้วย ให้ถามว่ามีการนำกระเทียมที่ผลิตได้นั้นไปทำการทดลอง ด้วยหรือเปล่าและมีการตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารอะไรบ้าง
ยาเม็ดกระเทียมไม่ใช่กระเทียมสดแต่มีส่วนประกอบ ใกล้เคียงกับกระเทียมสด
ปริมาณการบริโภคต่อวันขึ้นกับรูปแบบของการผลิต การใช้รักษาโรคควรเท่ากับหัวกระเทียมสด 4 กรัม หรือ 600-1200 มก. ของ aged garlic 2-5 มก. ของน้ำมันกระเทียม (garlic oil)
อาหารเสริมจากกระเทียมควรผลิตโดยวิธีที่ไม่ทำลาย สารธรรมชาติของมันจะได้ประโยชน์เทียบเท่ากระเทียมสด เทคนิคการผลิตวิธีใหม่ที่เรียก aged garlic จะช่วยลดกลิ่น และสารอื่นๆ ที่ไม่ต้องการออกไป ขณะเดียวกันก็ทำให้คุณภาพคงทน หรือไม่สูญสลายไปหมด มีแพทย์คนหนึ่งซึ่งสนใจการรักษาโดยพืชสมุนไพรชื่อ JAMES DUKE, Ph.D. ได้วิจัยพบว่า กระเทียมมีสารประกอบ รวมกันถึง 202 ชนิด เขาบอกว่า “เราไม่ต้องไปหาสรรพคุณอื่นใด มาเพิ่มเติมอีก (ในการรักษาด้วยสมุนไพร) นอกจากพยายามคงสภาพ ของมันไว้ให้ดีที่สุดเท่านั้นเอง“
กระเทียมมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย จึงมีผู้ผลิตกระเทียม ออกวางจำหน่ายในรูปยาเม็ดหลายๆ บริษัทด้วยกรรมวิธี การผลิตแตกต่างกันออกไป ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การสกัดกระเทียมด้วยวิธีความร้อน เย็น ก็จะได้สารออกมาไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่การสกัดกระเทียมด้วยน้ำหรือน้ำมัน ก็จะได้ตัวยา ออกมาแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนซื้อผลิตภัณฑ์จากกระเทียม ควรต้องเลือกดูให้ดีๆ มิฉะนั้น จะเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ควรเลือกบริษัทผู้ผลิตที่มีการนำยาที่ผลิตไปทดลองมาก่อน และได้ผลการทดลองออกมาเชื่อถือได้เท่านั้น
>>>ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
กดถูกใจ (Like) ติดตามข่าวสารจาก มงคล
facebook
google+
fb share